เสาชิงช้า โล้ชิงช้า ความหมาย และความสัมพันธ์กับการสร้างกรุง
แทบทุกคนคงรู้อยู่แล้วว่า ย่านเสาชิงช้า เป็นแหล่งให้เช่าบูชาพระพุทธรูป และขายเครื่องสังฆภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นย่านที่มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ที่สุดย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ เอาเป็นว่าถ้าจะมาย่านนี้ ก็ต้องเตรียมล้างท้องกันมาก่อน ...ที่นี่ ยังเป็นจุดเช็คอินถ่ายรูปยอดนิยมอีกด้วย ในเวลาช่วงเย็นถึงค่ำจะมีผู้คนมากหน้าหลายตา มาเก็บภาพสวย ๆ ที่มีฉากหลังเป็นเสาชิงข้าตั้งตระหง่านคู่กับพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวรารามที่สะท้อนแสงไฟระยิบระยับจับตา คลิปหรือรีวิวพากินพาเที่ยวแถวเสาชิงช้า ก็มีอยู่ไม่น้อยแล้ว เที่ยวนี้จึงขอละเรื่องนั้นไว้ แต่จะพาไปรู้จักเสาชิงช้ากันแบบลึกซึ้ง ในเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม ที่จะทำให้คุณอินจนอยากจะไปยืนแหงนคอมองเสาชิงช้าอย่างจริงๆ จังๆ สักครั้ง เสาชิงช้า สถาปัตยกรรมโบราณ สะดือเมืองกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้าคู่แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้ ๒ ปี เวลานั้นมีพระครูพราหมร์นามว่าสิทธิชัย (หรือกระต่าย) เป็นพราหมณ์พฤฒิบาศ ตำแหน่งหลวงสิทธิชัยบดี ชาวเมืองสุโขทัย ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโล