บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2020

เทวราชา

รูปภาพ
เทวราชา คือ เทพผู้เป็นใหญ่ในร่างของพระราชา  ความเชื่อในเทพฮินดู เอเชียอาคเนย์รับมาจากอินเดียก็จริง แต่น่าแปลกที่เทวราชากลับไม่มีในอินเดีย กษัตริย์ในอินเดียทั่วไปคือนักรบจัดอยู๋ในวรรณะกษัตริย์ มีบ้างที่เป็นอวตารของเทพ เช่น พระกฤษณะ พระราม ที่เป็นอวตารของพระวิษณุ แต่โดยทั่วไปไม่ใช่ และไม่ได้รับการนับถือเป็นเทวราชา การอวตารของเทพอาจมาได้ทั้งในรูปมนุษย์และอมนุษย์ การอวตารในคติของอินเดียเป็นการลงมาทำหน้าที่หนึ่งๆ ของเทพให้สำเร็จลุล่วง แล้วก็จากไป แต่เทวราชาเป็นความเชื่อว่า กษัตริย์ทุกพระองค์ที่เสวยราชย์คืออณูหนึ่งของเทพ เมื่อสวรรคตแล้วก็กลับไปอยู่ในฐานะเทพ ภาพจำลองพราหมณ์ทำพิธีสถาปนาเทวราชา เขียนโดย Maurice Fievet จาก www.devata.org การทำพิธีสถาปนาเทวราชา เป็นการผสมผสานพิธีอินทราภิเษกเข้ากับราชาภิเษก "อินทราภิเษก" ชื่อก็บอกชัดอยู่แล้ว คือ การทำพิธีอัญเชิญหรืออภิเษกให้พระอินทร์ขึ้นเป็นหัวหน้าเหล่าเทพ        พระอินทร์เป็นเทพดั้งเดิมในคติของอินเดียเผ่าอารยันหรือพราหมณ์ในยุคต้น มีความสำคัญเป็นหัวหน้าเหล่าเทพทั้งมวล คติความเชื่อนี้ได้แพร่เข้ามาสู่อุษาคเนย์และมีบทบาทอย่างสูง

ศาสนาในอาณาจักรเขมรโบราณ

รูปภาพ
เขมรโบราณนับถือทั้งศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธควบคู่กัน                              ในราชอาณาจักรมหิธรปุระรวมถึงในอาณาจักรเขมรทั่วไป แต่เดิมนับถือไศวนิกายเป็นหลัก (นับถือพระศิวะหรือมักจะเรียกกันว่า พระอิศวร เป็นใหญ่กว่าเทพองค์อื่น) แต่ก็นับถือเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ครบทั้ง ๓ ด้วย ได้แก่ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม ส่วนศาสนาพุทธก็มีอยู่เช่นกัน เป็นพุทธแบบมหายาน แต่ก็ไม่แพร่หลายนักเมื่อเทียบกับพราหมณ์-ฮินดู  ๑. ปราสาทพนมรุ้งเป็นเทวสถานของไศวนิกาย มองเห็นศิวลึงก์ประดิษฐานในครรภคฤหะ มีท่อโสมสูตรรับน้ำมนต์มาจากภายใน ๒. ศิวลึงก์ในครรภคฤหะ ปราสาทพนมรุ้ง ศาสนาพุทธคงเข้ามาสู่เขมรทั้งจากอินเดียโดยตรงที่เดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนาและค้าขาย และผ่านทางอาณาจักรทวาราวดีที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย มีหลักฐานว่าพระเจ้ายโศวรมัน (พ.ศ. ๑๔๓๒-๑๔๕๕) ผู้สถาปนาเมืองพระนคร เคยทรงสร้างวัดทางพระพุทธศาสนาด้วย แต่ว่าศาสนาพุทธก็ได้เสื่อมลง นักโบราณคดีพบจารึกว่าด้วยการบูรณะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นใหม่ในพศต.ที่ ๑๖ ซึ่งก็ตรงกับช่วงของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ เช่น  ในจารึกศาลสูงหลักที่ ๑ จังหวัดลพบุรี ระบุถึง

เมืองพระนคร

รูปภาพ
เมืองพระนครแห่งอาณาจักรเขมร ไม่ได้หมายถึง นครวัด นครธม ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ “เมืองพระนคร” ของอาณาจักรเขมร เริ่มสถาปนาขึ้นครั้งแรกในสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๔๓๒-๑๔๕๓) ทรงย้ายเมืองหลวงจากหริหราลัย มาสร้างเมืองใหม่ใกล้แม่น้ำเสียมเรียบ  ทรงให้ นามเมืองนี้ว่า “ยโศธรปุระ” ตามพระนามของพระองค์ ซึ่งก็รู้จักกันว่า คือเมืองพระนคร เมืองนี้มีอาณาเขตกว้างใหญ่ มีเขาพนมบาเค็งเป็นจุดศูนย์กลางของเมือง ตามคติจักรวาลวิทยาของศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา ที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางจักรวาล ส่วน นครวัดและนครธมนั้น ก็คือเมืองพระนครเช่นกัน แต่เป็นจุดศูนย์กลางของเมืองในยุคหลังคือ สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ และ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ตามลำดับ ภาพจำลองพระเจ้ายโศวรมัน ประทับดูพระนครจากยอดพนมบาเค็ง ภาพโดย Maurice Fievet จาก www.devata.org             ใครเคยไปเที่ยวเมืองเสียมเรียบและเดินขึ้นไปชมบนเขาพนมบาเค็ง คงจะทราบว่าโบราณสถานแห่งนี้ จำกัดการขึ้นชมไม่เกินครั้งละ ๓๐๐ คน เพื่อป้องกันการทรุดตัว ตลอดทางขึ้นมีธรรมชาติร่มรื่น ทิวทัศน์สวยงาม และจากยอดเขาสามารถมองลงมาเห็นปราสาทนครวัดได้เต็มทั้งองค์  

ผังลำดับกษัตริย์เขมร ดูง่าย

รูปภาพ
ลำดับกษัริย์เขมร ที่กล่าวถึงในบทความของบล็อค และช่วงเวลาที่ครองราชย์ (มีภาพประกอบ ๒ ช่วง) ภาพที่ ๑ : ผังลำดับกษัตริย์เริ่มจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ จนถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๓๔๕-๑๓๙๓) เสด็จกลับจากชวา ฟื้นฟูอาณาจักร สถาปนาลัทธิเทวราชาขึ้นในปี พ.ศ.๑๓๔๕ บนเขามเหนทรบรรพต ทรงสร้าง เมืองหลวง หริหราลัย พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๔๒๒ - ๑๔๓๒) พระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๔๓๒-๑๔๕๓) โอรสของพระเจ้าอินทรวรมัน ทรงย้ายศูนย์กลางจากหริหราลัย มาสร้างเมืองใหม่ใกล้แม่น้ำเสียมเรียบ ทรงให้นามเมืองใหม่นี้ว่า "ยโศธรปุระ" ตามพระนามของพระองค์ มีเขาพนมบาเค็งเป็นศูนย์กลาง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๔ (พ.ศ.๑๔๗๑-๑๔๘๔) พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ (พ.ศ.๑๕๑๑-๑๕๔๔) พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑   (พ.ศ. ๑๕๔๕ – ๑๕๙๓)   เป็นเจ้าชายจากทางบูรพาทิศ ยกทัพมาชิงบัลลังก์จากพระเจ้าชัยวีรวรมัน สถาปนาราชวงศ์ใหม่ ทรงสร้างปราสาทเขาพระวิหาร และริเริ่มการให้เสนาอำมาตย์ถวายสัตย์สาบาน ต่อมาได้สืบทอดเป็นพิธีในราชสำนักของเขมรชื่อว่า “พระพัทธประติชญา” (เป็นคำสันสกฤต แปลว่า คำสาบานผูกมัด) และไทยรับมาเป็นพิธีถื

มหิธรปุระ

รูปภาพ
ราชวงศ์มหิธรปุระมาจากไหน ตอนนี้ ยังคงเป็นการวิเคราะห์เรื่องราว "สุริยวรรมัน" ที่แต่งโดยคุณทมยันตี ต่อเนื่องมา โดยเล่ากันมาในสองตอนแรกแล้วว่า เจ้าชายพิษณุหริเกศวรในนิยาย "สุริยวรรมัน" ของทมยันตี ก็คือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ มหาราชอีกพระองค์หนึ่งของเขมร ที่สืบสายมาจากราชวงศ์มหิธรปุระ ... แล้วราชวงศ์มหิธรปุระนั้นเป็นใคร มาจากไหน? ต้นลุ่มน้ำมูล หลักแหล่งดั้งเดิมของวงศ์มหิธรปุระ บรรพชนกษัตริย์กัมพูชา ที่สถาปนานครวัด นครธม (แผนที่ดัดแปลงจากพิมพ์ครั้งแรก ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 24 ฉบับที่ 11 กันยายน 2546 หน้า 107) ภาพนำมาจา ก    https://www.matichon.co.th/columnists/news_166130 มีหลักฐานจากศิลาจารึก ที่ทำให้เชื่อว่า ราชวงศ์มหิธรปุระ   ครองแคว้นทางตอนเหนือของลุ่มน้ำมูล บนที่ราบสูงโคราช ศาสนสถานใหญ่ๆ ที่ราชวงศ์นี้สร้างไว้หรือเป็นผู้บูรณะ เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมวัน ปราสาทเขาพนมรุ้ง   ดินแดนแถบนี้ถูกเรียกชื่อแยกออกจากพื้นที่ในเขตประเทศกัมพูชา ดังปรากฏในศิลาจารึกของแคว้นจนาศะ (ปัจจุบันคือบริเวณเมืองเสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา) ว่า “บริเวณที่ราบสูงเหนือทิวเขาพนมดงเร็

สุริยวรรมัน : เรื่องจริงเป็นอย่างไร

รูปภาพ
สุริยวรรมัน เรื่องจริงในประวัติศาสตร์เขมรเป็นอย่างไร ? บทความนี้ เป็นการต่อยอดจากเนื้อเรื่องในนิยายเรื่อง "สุริยวรรมัน" ของคุณทมยันตี ที่อ่านแล้วได้ความรู้และสนุกจนวางไม่ลง ในขณะเดียวกันก็ยังกระตุ้นให้ต้องการค้นคว้าลึกขึ้นไปอีก ว่าเรื่องจริงกับนิยายเหมือนกันหรือไม่ ... แล้วก็ได้คำตอบว่า  เรื่องราวในนิยายเป็นเพียงเค้าลาง ชื่อตัวละครในสุริยวรรมัน อาจซ้ำกันกับบุคคลในประวัติศาสตร์เขมร แต่บทบาทกับความเป็นจริงต่างกัน     ประเด็นสำคัญที่ควรรู้         ๑) พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ : เจ้าชายพิษณุหริเกศวร พระเอกของเรื่อง ที่เข้าใจได้ว่าคือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ในความเป็นจริงเมื่อครั้งทรงพระเยาว์นั้นจะมีพระนามใดไม่ปรากฏ แต่คุณทมยันตี ได้ตั้งชื่อให้เช่นนี้ ก็สอดคล้องกับความจริงที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ทรงเคารพศรัทธาในพระวิษณุเป็นสรณะสูงสุด และยังวางลักษณะบุคคลิกของตัวละครนี้ ให้มีความหยิ่งผยอง พอๆ กับความกล้าหาญ สติปัญญา และความกระตือรือร้นในการศึก ไม่ต่างจากลักษณะของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ที่พบในจารึกว่า  พระองค์ทรงทำศึกแย่งบัลลังก์กับพระปิตุลา คือพระเจ้าธรณินทรวรมัน

ถอดความนัยจากนิยายสู่ประวัติศาสตร์ "สุริยวรรมัน"

รูปภาพ
“สุริยวรรมัน” คือชื่อนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เขมร ผลงานชิ้นเอกอีกเรื่องหนึ่งของศิลปินแห่งชาติ ทมยันตี นิยายเรื่องนี้เป็นเสมือนภาพจินตนาการของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ในมุมที่แสนจะโรแมนติก หากใครที่ได้อ่าน สุริยวรรมัน แต่ยังไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์เขมร นอกจากจะซาบซึ้ง ไหลหลง ไปกับเจ้าชายรูปงาม ที่ทรงพระปรีชาและคุณธรรม และตื่นเต้นกับกลยุทธ์การสงครามในท้องเรื่องแล้ว ก็คงจะมีความสงสัยใคร่รู้อยู่ตลอดเวลาที่อ่านว่า เรื่องจริงเป็นอย่างไร ? เจ้าชายพระองค์นี้ มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์หรือไม่ ? และทำไมเวียงวังจึงมาอยู่ที่ใกล้ปราสาทเขาพนมรุ้ง ในเขตแดนไทยนี่เอง ทำไมไม่อยู่ที่ปราสาททั้งหลายในดินแดนเขมรเล่า ? สุริยวรรมัน กล่าวถึง เจ้าชายหนุ่ม พระนามว่า พิษณุหริเกศวร แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ ทรงพำนักอยู่ ณ เมืองที่มีชื่อเดียวกัน อยู่ห่างไกลจากเมืองพระนคร ศูนย์กลางของราชอาณาจักรแห่งชนเขมร ไปทางตอนเหนือ มีทิวพนมดงเร็กเป็นฉากกั้นให้อยู่กันคนละฝากฝั่ง เหตุก็เพราะความขัดแย้งแย่งชิงราชบัลลังก์ระหว่างเครือญาติ ผู้ที่เหนือกว่าก็ได้อำนาจครอบครองมืองพระนคร ผู้ที่อำนาจด้อยกว่าก็ต้องหลบลี้ทำตัวเงีย