เมืองพระนคร
เมืองพระนครแห่งอาณาจักรเขมร ไม่ได้หมายถึง นครวัด นครธม
ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ “เมืองพระนคร” ของอาณาจักรเขมร เริ่มสถาปนาขึ้นครั้งแรกในสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๔๓๒-๑๔๕๓) ทรงย้ายเมืองหลวงจากหริหราลัย มาสร้างเมืองใหม่ใกล้แม่น้ำเสียมเรียบ ทรงให้นามเมืองนี้ว่า “ยโศธรปุระ” ตามพระนามของพระองค์ ซึ่งก็รู้จักกันว่า คือเมืองพระนคร เมืองนี้มีอาณาเขตกว้างใหญ่ มีเขาพนมบาเค็งเป็นจุดศูนย์กลางของเมือง ตามคติจักรวาลวิทยาของศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา ที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางจักรวาล ส่วนนครวัดและนครธมนั้น ก็คือเมืองพระนครเช่นกัน แต่เป็นจุดศูนย์กลางของเมืองในยุคหลังคือ สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ และ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ตามลำดับ
![]() |
ภาพจำลองพระเจ้ายโศวรมัน ประทับดูพระนครจากยอดพนมบาเค็ง ภาพโดย Maurice Fievet จาก www.devata.org |
ใครเคยไปเที่ยวเมืองเสียมเรียบและเดินขึ้นไปชมบนเขาพนมบาเค็ง คงจะทราบว่าโบราณสถานแห่งนี้ จำกัดการขึ้นชมไม่เกินครั้งละ ๓๐๐ คน เพื่อป้องกันการทรุดตัว ตลอดทางขึ้นมีธรรมชาติร่มรื่น ทิวทัศน์สวยงาม และจากยอดเขาสามารถมองลงมาเห็นปราสาทนครวัดได้เต็มทั้งองค์ พระเจ้ายโศวรมันทรงสร้างปราสาทพนมบาเค็งอย่างเต็มไปด้วยความหมายเชิงสัญลักษณ์ตามความเชื่อของศาสนา อันเป็นเคล็ดวิชาที่จะทำให้อาณาจักรมีความแข็งแกร่ง คือการสร้างโลกของเทพ (เขาไกรลาส) ขึ้นกลางประเทศหมายถึงความมั่งคั่งสมบูรณ์ของอาณาจักร บนยอดสุดมีปราสาทจำนวน ๕ หลัง แสดงถึงยอด ๕ ยอด ของเขาพระสุเมรุ แต่หากมองแต่ละด้านจะเห็นครั้งละ ๓ หลัง หลังกลางสูงกว่าอีกสองหลังด้านข้าง ความหมายคือตรีมูรติ ส่วนปราสาทเล็กใหญ่รวมกันมีทั้งหมด ๑๐๘ หลัง เป็นจำนวนศักดิ์สิทธิ์ที่มีเลข ๑ และ ๘ ปนอยู่ เหมือนกับจำนวนคาถาในคัมภีร์พระเวทที่มี ๑๐,๘๐๐ บท และหากมองดูเฉพาะฐานแต่ละด้าน จะมองเห็นปราสาทเพียง ๓๓ หลัง ซึ่งเท่ากับจำนวนที่ประทับของเทวดา ๓๓ องค์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
การสร้างเมืองด้วยสัญลักษณ์เช่นนี้ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้ทำให้เข้มแข็งและหนักแน่นยิ่งขึ้น หลังจากทรงพบว่า แม้เมืองพระนครเดิมจะได้สร้างไว้เป็นเมืองแห่งเทพแล้ว แต่ก็ยังไม่พ้นจากการถูกรุกรานของจาม (โปรดรอติดตามในตอนว่าด้วย พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และเมืองนครธม)
![]() |
ส่วนหนึ่งของปราสาทบนยอดเขาพนมบาเค็ง |
>> ผังลำดับกษัตริย์เขมร ดูง่าย
อาณาจักรเขมรในสมัยของพระเจ้ายโศวรมันนับว่าขยายกว้างไกลอย่างมาก
ราชวงศ์ของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ ทรงครอง ยโศธรปุระ ต่อเนื่องมาอีกราว ๗ รัชกาล ถึงพศต. ๑๖ ก็มีกษัตริย์จากดินแดนทางตะวันออกยกทัพมาตี ชิงราชบัลลังก์แห่งยโศธรปุระได้ ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ และทรงพระนามว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ราชวงศ์นี้ครองเมืองพระนครต่อมาอีกเพียง ๒-๓ รัชกาล ก็สิ้นรัชทายาท ทำให้บัลลังก์ตกอยู่กับพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ที่เป็นเชื้อสายของราชวงศ์มหิธรปุระ
อาณาจักรเขมรในสมัยของพระเจ้ายโศวรมันนับว่าขยายกว้างไกลอย่างมาก
- ทางตะวันตกจรดเมืองมอญที่สะเทิม (สะเทิมเป็นเมืองติดทะเล อดีตคือเมืองหลวงของมอญหรืออาณาจักรสุธรรมวดี ที่ล่มสลายลงใน พศต. ๑๖ เพราะถูกพระเจ้าอนิรุธหรืออโนรธามังช่อแห่งพม่ายกมาตีใน แล้วขนเอาพระไตรปิฏก พระบรมสารีริกธาตุ และพระสงฆ์ ไปพุกาม พร้อมกับจับเอาพระเจ้ามนูหะไปเป็นเชลยด้วย พระเจ้ามนูหะจึงได้สร้างวัดขึ้นที่พุกาม ท่านที่ไปเที่ยวพุกามแล้วคงได้ไปเยี่ยมชมวัดมนูหะ ที่สะท้อนความอึดอัดน้อยเนื้อต่ำใจของพระองค์)
- ทางตะวันออกเฉียงเหนือ จรดประเทศจีน และจามปา (เวียตนาม)
- ทางเหนือจรดแคว้นสิบสองปันนา (ปัจจุบันคือมณฑลยูนนานของจีน)
- ทางตะวันตกเฉียงเหนือ จรดแคว้นเชียงตุง (ปัจจุบันคือรัฐฉานของพม่า)
- ทางตะวันตกเฉียงใต้ จรดครึหิ หรือไชยา ในคาบสมุทรมลายู
ราชวงศ์ของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ ทรงครอง ยโศธรปุระ ต่อเนื่องมาอีกราว ๗ รัชกาล ถึงพศต. ๑๖ ก็มีกษัตริย์จากดินแดนทางตะวันออกยกทัพมาตี ชิงราชบัลลังก์แห่งยโศธรปุระได้ ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ และทรงพระนามว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ราชวงศ์นี้ครองเมืองพระนครต่อมาอีกเพียง ๒-๓ รัชกาล ก็สิ้นรัชทายาท ทำให้บัลลังก์ตกอยู่กับพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ที่เป็นเชื้อสายของราชวงศ์มหิธรปุระ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น