ผังลำดับกษัตริย์เขมร ดูง่าย

ลำดับกษัริย์เขมร ที่กล่าวถึงในบทความของบล็อค และช่วงเวลาที่ครองราชย์ (มีภาพประกอบ ๒ ช่วง)




ภาพที่ ๑ : ผังลำดับกษัตริย์เริ่มจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ จนถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑

พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๓๔๕-๑๓๙๓) เสด็จกลับจากชวา ฟื้นฟูอาณาจักร สถาปนาลัทธิเทวราชาขึ้นในปี พ.ศ.๑๓๔๕ บนเขามเหนทรบรรพต ทรงสร้าง เมืองหลวง หริหราลัย
พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๔๒๒ - ๑๔๓๒)
พระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๔๓๒-๑๔๕๓) โอรสของพระเจ้าอินทรวรมัน ทรงย้ายศูนย์กลางจากหริหราลัย มาสร้างเมืองใหม่ใกล้แม่น้ำเสียมเรียบ ทรงให้นามเมืองใหม่นี้ว่า "ยโศธรปุระ" ตามพระนามของพระองค์ มีเขาพนมบาเค็งเป็นศูนย์กลาง
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๔ (พ.ศ.๑๔๗๑-๑๔๘๔)
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ (พ.ศ.๑๕๑๑-๑๕๔๔)
พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๔๕ – ๑๕๙๓) เป็นเจ้าชายจากทางบูรพาทิศ ยกทัพมาชิงบัลลังก์จากพระเจ้าชัยวีรวรมัน สถาปนาราชวงศ์ใหม่ ทรงสร้างปราสาทเขาพระวิหาร และริเริ่มการให้เสนาอำมาตย์ถวายสัตย์สาบาน ต่อมาได้สืบทอดเป็นพิธีในราชสำนักของเขมรชื่อว่า “พระพัทธประติชญา” (เป็นคำสันสกฤต แปลว่า คำสาบานผูกมัด) และไทยรับมาเป็นพิธีถือน้ำพิพัฒสัตยา


เรียงลำดับครองราชย์ของกษัตริย์เขมร ดูง่าย
ภาพที่ ๒ : ผังลำดับกษัตริย์ เริ่มจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ตั้งราชวงศ์สุริยวรมัน สิ้นสุดที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่นับว่าเป็นมหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร หลังจากนั้นอาณาจักรเขมรก็เริ่มเสื่อมลงทีละน้อย และล่มสลายไปหลังจากรัฐไทยเข้าตีได้สำเร็จในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐

พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๔๕ – ๑๕๙๓) 
            พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ ๒ (พ.ศ.๑๕๙๓-๑๖๐๙) ทรงบูรณะปราสาทสต็อกก๊กธมขึ้นใหม่ เพื่อเป็นคุรุทักษิณา บูขาครูแด่ สทาศิวะ ซึ่งได้รับยกย่องเทียบเท่าตำแหน่งกษัตริย์ในฐานะ "ชเยนทรวรมัน" (ย้อนอ่านตอน ๒)
            พระเจ้าหรรษวรมันที่ ๓ (พ.ศ.๑๖๐๙-๑๖๒๓) เป็นองค์สุดท้ายของราชวงศ์สุริยวรมัน
            พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ (พ.ศ.๑๖๒๓-๑๖๕๐) เริ่มต้นราชวงศ์มหิธรปุระ
พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๖๕๐-๑๖๕๖)
พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๖-๑๖๙๓) เป็นหลานของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ และ พระเจ้าธรณีทรวรมันที่ ๑ ชิงบัลลังก์จากพระเจ้าธรณินทรวรมัน ทรงสร้างนครวัด สถาปนาไวษณพนิกายเป็นใหญ่ ไม่มีทายาทสืบทอด
หลังสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ มีกษัตริย์ปกครองอีก ๒ พระองค์ คือ ยโศวรมันที่ ๒ (ไม่แน่ใจเริ่มพ.ศ.ใด แต่สิ้นสุด ๑๗๐๘) โดยโดนขุนนางกบฏ ขุนนางนั้นขึ้นครองแทนนามว่า ตรีภูวนาทิตยวรมัน (พ.ศ.๑๗๐๘ - ๑๗๒๐) ในระหว่างเวลาของกษัตริย์สองแผ่นดินนี้ เขมรรำส่ำระสาย ทั้งกบฏภายในและศึกจาม ในที่สุด ตรีภูวนาทิตยวรมัน ก็โดนจามฆ่าตาย เวลานั้น เจ้าชายชัยวรมัน ทำศึกอยู่นอกเขตพระนคร กลับมาช่วยไม่ทัน พอพระองค์กลับมาแล้วก็เห็นว่า ยังไม่ถึงเวลาเหมาะจะกู้เมืองจากจาม จึงหลบอยู่ก่อน คาดว่าคงจะพักรออยู่ที่มหิธรปุระ
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ.๑๗๒๔-๑๗๖๒) ทรงขับไล่จาม ฟื้นฟูราชอาณาจักร ขยายพระราชอำนาจ นับถือพุทธมหายาน สร้างปราสาทบายน นครธม และอโรคยศาลา ทั่วอาณาจักร

คลิ๊ก >> ตอนเมืองพระนคร





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สุริยวรรมัน : เรื่องจริงเป็นอย่างไร

ถอดความนัยจากนิยายสู่ประวัติศาสตร์ "สุริยวรรมัน"

พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ : เคล็ดวิชาสร้างอาณาจักรเขมร (๑)

มหิธรปุระ

อินเดียที่หนึ่งในดวงใจ