บทความ

เสาชิงช้า โล้ชิงช้า ความหมาย และความสัมพันธ์กับการสร้างกรุง

รูปภาพ
แทบทุกคนคงรู้อยู่แล้วว่า ย่านเสาชิงช้า เป็นแหล่งให้เช่าบูชาพระพุทธรูป และขายเครื่องสังฆภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นย่านที่มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ที่สุดย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ เอาเป็นว่าถ้าจะมาย่านนี้ ก็ต้องเตรียมล้างท้องกันมาก่อน ...ที่นี่ ยังเป็นจุดเช็คอินถ่ายรูปยอดนิยมอีกด้วย ในเวลาช่วงเย็นถึงค่ำจะมีผู้คนมากหน้าหลายตา มาเก็บภาพสวย ๆ ที่มีฉากหลังเป็นเสาชิงข้าตั้งตระหง่านคู่กับพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวรารามที่สะท้อนแสงไฟระยิบระยับจับตา  คลิปหรือรีวิวพากินพาเที่ยวแถวเสาชิงช้า ก็มีอยู่ไม่น้อยแล้ว เที่ยวนี้จึงขอละเรื่องนั้นไว้ แต่จะพาไปรู้จักเสาชิงช้ากันแบบลึกซึ้ง ในเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม ที่จะทำให้คุณอินจนอยากจะไปยืนแหงนคอมองเสาชิงช้าอย่างจริงๆ จังๆ สักครั้ง เสาชิงช้า สถาปัตยกรรมโบราณ สะดือเมืองกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้าคู่แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้ ๒ ปี  เวลานั้นมีพระครูพราหมร์นามว่าสิทธิชัย (หรือกระต่าย) เป็นพราหมณ์พฤฒิบาศ ตำแหน่งหลวงสิทธิชัยบดี ชาวเมืองสุโขทัย ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโล

ตำนานและความหมายของพระแม่ทุรคาปางมหิสาสุรมรรทินี

รูปภาพ
  เทวีทุรคา ปางมหิสาสุรมรรทินี                       ในภาพเป็น  รูปเคารพพระแม่มหิสาสุรมรรทินี หรือ ทุรคาปางปราบควายอสูร ปั้นโดยดินเหนียวจากอินเดีย และใช้ช่างปั้นเดินทางมาจากอินเดีย   ภาพนี้ เป็นพิธีที่วัดวิษณุ ยานนาวา (สมาคมฮินดูธรรมสภา) มีชาวอินเดีย ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย และเชื้อสายอื่นๆ มาร่วมพิธีกันมากมายเป็นประจำทุกปี            โดยทั่วไปช่วงเทศกาลนวราตรี ช่างชาวอินเดียจะปั้นรูปเคารพในลักษณะนี้ ไว้ในสถานที่ทำการบูชา หรือเทวาลัย ประจำหมู่บ้าน คือ เป็นรูปพระแม่ทุรคา มีสิงโตเป็นพาหนะ มีมหิสาสูรมอบอยู่แทบเบื้องบาท และอาจรายล้อมด้วยเทพเจ้าองค์อื่นๆ เมื่อจบพิธีแล้วก็จะนำรูปปั้นไปลอยแม่น้ำ เสมือนส่งเสด็จเหล่าเทพกลับสู่สรวงสวรรค์                การศึกษาเรื่องเทพฮินดูจะเป็นอันขาดตกบกพร่องไปอย่างมากถ้าไม่พูดถึงเทพฝ่ายสตรีหรือเทวี มีตำนานมากมายหลากหลายเกี่ยวกับเทพเจ้าฝ่ายหญิง แต่ที่เด่นชัดคือ เทวีทุรคา ซึ่งถือกันว่าเป็นปางหนึ่งของพระแม่อุมาหรือปราวตีองค์ชายาของพระศิวะ  ตำนานเรื่องทุรคาปราบควายอสูรเป็นสิ่งที่ทำให้เทวีเป็นที่จดจำและเป็นภาพลักษณ์ของพระนางจนได้รับขนานนามว่า "พระแม่มหิสา&q

เที่ยวชัยภูมิต้องไม่พลาดที่นี่

รูปภาพ
ช่วงเวลาทุ่งดอกกระเจียวบาน คือฤดูกาลท่องเที่ยว "ชัยภูมิ" ว่ากันอย่างนั้น แต่ที่จริงแล้ว ชัยภูมิไม่ได้มีดีแค่ทุ่งดอกกระเจียว แต่ยังมีสถานที่ซึ่งเมื่อได้ไปเยือนแล้วต้องหลงเสน่ห์ และอยากบอกต่อให้คนอื่นได้ไปเห็นเหมือนกับเรา  เที่ยวนี้ ... อยากพาไปรู้จักกับ อุทยานป่าหินงามยามเช้า วัดพระธาตุชัยภูมิ สรวงสวรรค์ที่ไปถึงได้ สัมผัสกลิ่นไอของล้านนาในแดนอิสาน มอหินขาว สโตนเฮ้นท์สยาม ที่คุณจะต้องทึ่ง อุทยานป่าหินงามยามเช้า จริงอยู่ที่ คนส่วนใหญ่มักมุ่งหน้าไปท่องเที่ยวชัยภูมิ ขึ้นอุทยานป่าหินงาม เพื่อดูดอกกระเจียวบาน แต่เมื่อใดที่ดอกไม้ไม่บานสะพรั่งทั้งทุ่ง ก็ออกจะผิดหวัง ชาวกรุงมักเดินทางไปดูดอกกระเจียว โดยออกจากกรุงเทพฯ ไปถึงอุทยานป่าหินงามเอาเวลาสายแล้ว แดดเริ่มแรง สายหมอกจางหาย เมื่อดอกไม้ไม่บานดังใจหวัง อะไรๆ ก็อาจจะเซ็งไปได้ เราจึงแนะนำว่า คุณควรไปเที่ยวจังหวัดรายทางเสียก่อน แล้วไปหาที่พักใกล้กับอุทยาน เพื่อจะได้ขึ้นชมตั้งแต่เช้าตรู่  ลองมาชมภาพที่นำเสนอต่อไปนี้ แม้ว่าดอกกระเจียวจะไม่บานเต็มที่ แต่การได้ไปเยือนอุทยานป่าหินงามยามเช้าก่อนพระอาทิตย์จะแผดจ้านั้น มีเสน่ห์ขนาดไหน เชื่อว่าคุ

พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ : เคล็ดวิชาเพื่อความยิ่งใหญ่ของเมืองพระนคร (๓)

รูปภาพ
สองตอนที่แล้วได้เล่าถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗  ( พ.ศ.๑๗๒๔-๑๗๖๒)  ทรงกอบกู้อาณาจักรจากการยึดครองของจาม และสถาปนาเมืองพระนครที่ทรุดโทรมขึ้นใหม่ ด้วยเคล็ดวิชาที่ซับซ้อน ทรงใช้ทั้งคติของพราหมณ์และพุทธ เพื่อหวังให้อาณาจักรของพระองค์อยู่ยืนยง ศาสตร์เร้นลับที่ว่านี้ แม้ในภายหลังจะถูกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๘ ทำลายลง แต่พระนามของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ก็ยังอยู่ยงเป็นอมตะอย่างแท้จริง จึงอดคิดไม่ได้ว่า หากเคล็ดวิชาเหล่านั้นมิได้ถูกลบล้างไป ไม่แน่ว่าประวัติศาสตร์อาจจะเปลี่ยนแปลงไปจากที่เรารู้จักกัน สถานที่สำคัญที่ได้กล่าวถึงไว้ในตอนก่อนหน้าได้แก่ ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทตาพรหม เกาะราชัยศรี และสระอโนดาต  ตอนนี้จะนำเสนอเรื่องของปราสาทบายนศูนย์กลางของอาณาจักร และพระชัยพุทธมหานาถ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ตลอดจนถึงการลบล้างเคล็ดวิชาที่เกิดขึ้นในสมัยต่อมา ๔)    ปราสาทบายน พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างปราสาทบายนให้เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของเมืองพระนคร (ก่อนหน้านี้จุดศูนย์กลางของ  เมืองพระนคร คือ ปราสาทพนมบาเค็งซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ และปราสาทนครวัดสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒)   กล