พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ : เคล็ดวิชาเพื่อความยิ่งใหญ่ของเมืองพระนคร (๓)
สองตอนที่แล้วได้เล่าถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ( พ.ศ.๑๗๒๔-๑๗๖๒) ทรงกอบกู้อาณาจักรจากการยึดครองของจาม และสถาปนาเมืองพระนครที่ทรุดโทรมขึ้นใหม่ ด้วยเคล็ดวิชาที่ซับซ้อน ทรงใช้ทั้งคติของพราหมณ์และพุทธ เพื่อหวังให้อาณาจักรของพระองค์อยู่ยืนยง ศาสตร์เร้นลับที่ว่านี้ แม้ในภายหลังจะถูกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๘ ทำลายลง แต่พระนามของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ก็ยังอยู่ยงเป็นอมตะอย่างแท้จริง จึงอดคิดไม่ได้ว่า หากเคล็ดวิชาเหล่านั้นมิได้ถูกลบล้างไป ไม่แน่ว่าประวัติศาสตร์อาจจะเปลี่ยนแปลงไปจากที่เรารู้จักกัน
สถานที่สำคัญที่ได้กล่าวถึงไว้ในตอนก่อนหน้าได้แก่ ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทตาพรหม เกาะราชัยศรี และสระอโนดาต ตอนนี้จะนำเสนอเรื่องของปราสาทบายนศูนย์กลางของอาณาจักร และพระชัยพุทธมหานาถ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ตลอดจนถึงการลบล้างเคล็ดวิชาที่เกิดขึ้นในสมัยต่อมา
๔) ปราสาทบายน
พระเจ้าชัยวรมันที่
๗ ทรงสร้างปราสาทบายนให้เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของเมืองพระนคร (ก่อนหน้านี้จุดศูนย์กลางของ เมืองพระนคร คือ
ปราสาทพนมบาเค็งซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑
และปราสาทนครวัดสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒)
ตัวปราสาทบายนไม่มีกำแพงล้อมรอบเหมือนกำแพงแก้วของวัด แต่ตั้งอยู่โดดๆ กลางใจเมืองที่มีกำแพงเมืองล้อมรอบเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ ๓ กิโลเมตร และมีคูน้ำกว้าง ๑๐๐ เมตร ล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นจึงเท่ากับว่าพื้นที่ทั้งหมดภายในกำแพงเมืองราว ๙ ตารางกิโลเมตรนี้ เป็นมณฑลอันศักดิ์สิทธิ์ไปในตัว
จารึกพบที่ปราสาทจรุง อันเป็นปราสาทเล็กๆ สร้างไว้ที่มุมกำแพงเมืองแต่ละมุม ระบุว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างชัยคีรี (ภูเขาแห่งชัยชนะ)
เสียดยอดฟ้าที่ส่องแสงสว่าง และขัยสินธุ (มหาสมุทรแห่งชัยชนะ) ด้วยความลึกอันไม่อาจคณนาได้
ชัยคีรี นั้น เปรียบกับ กำแพงเมืองที่เป็นเสมือนทิวเขาที่ล้อมรอบจักรวาล
ส่วนชัยสินธุ เปรียบกับ คูน้ำกว้าง ๑๐๐ เมตร รอบกำแพงเมืองแทนมหาสมุทรที่เป็นทางเชื่อมต่อกับพญานาคทั้ง ๘ ตน ที่รองรับโลกอยู่
ส่วนชัยสินธุ เปรียบกับ คูน้ำกว้าง ๑๐๐ เมตร รอบกำแพงเมืองแทนมหาสมุทรที่เป็นทางเชื่อมต่อกับพญานาคทั้ง ๘ ตน ที่รองรับโลกอยู่
หน้าประตูทางเดินข้ามคูเข้าเมือง มีรูปสลักเทวดาและอสูร
(บ้างก็ว่าเป็นเทวดาทั้งสองฝ่าย) กำลังยุดนาคไว้
รูปนาคเปรียบเสมือนศรของพระอินทร์ที่เป็นสายรุ้งเชื่อมระหว่างโลกของมนุษย์และเทวดา
หรือหากเชื่อว่าเป็นภาพเทวดากับอสูรกำลังช่วยกันกวนเกษียณสมุทร การเดินเข้าเมืองที่ประตูนี้ก็จะได้รับมงคลจากน้ำอมฤตที่ได้จากการกวนเกษียรสมุทรด้วย
เหนือประตูเมืองพระนครใหม่นี้ มีรูปหน้าคน ๔ หน้า หันออกไปคนละทิศ
น่าจะหมายถึงท้าวจตุโลกบาล ผู้รักษาทิศทั้ง ๔
ส่วนที่มุมประตูเมืองยังมีภาพสลักนูนสูงพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
![]() |
คูน้ำรอบกำแพงเมือง มองเห็นรูปปั้นเทวดาและอสูรนั่งเรียงเป็นแถว (ภาพจาก https://orientalarchitecture.com) |
กลุ่มปราสาทบายนจะมีปราสาทหลังกลางลักษณะเป็นห้องล้อมรอบด้วยระเบียงและวิหารอีก ๑๖ หลัง
แผนผังรวมเป็นรูปวงกลม คล้ายกับยันต์หรือมณฑลอันศักดิ์สิทธิ์ ปราสาทอื่นๆ ตั้งกระจายออกไปเป็นระเบียบ ปราสาททุกหลังมีหน้าขนาดใหญ่
๔ หน้าสลักอยู่บนยอด ซึ่งอาจแทนองค์พระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวรสมันตมุข
แต่บ้างก็ว่าเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เอง
เพราะสังเกตจากศิลาภรณ์ที่สวมพระเศียรประดับด้วยลายไม้ เป็นลักษณะของนักรบ ปราสาทหลังกลางนี้อุทิศถวายเป็นพุทธบูชา จำนวนหน้าทั้งหมดมีถึง
๒๑๖ หน้า
... อยากให้สังเกตว่า ตัวเลข ๑๖ และ ๒๑๖ เป็นเลขมงคล การผูกมนตราหรือยันต์มักจะใช้จำนวนคำหรือเรื่องเกี่ยวข้องใดๆ นับเป็นจำนวนตรงกับเลข ๑๖
บนยอดปราสาทหลังกลาง
ซึ่งเป็นครรภคฤหะ ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกขนาดใหญ่ นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าคือ
พระชัยพุทธมหานาถองค์ใหญ่
ส่วนปราสาทที่รายล้อมมีการจารึกชื่อพระพุทธรูปเอาไว้ที่ขอบประตู คาดว่าปราสาทเหล่านี้ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือเทวรูปที่มาจากเจ้านายหรือเชื้อพระวงศ์จากเมืองต่างๆ หรือตระกูลใหญ่ เท่ากับว่า กลุ่มปราสาทบายนนี้เป็นเคล็ดแสดงสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ของราชอาณาจักรขอม ที่มีเแคว้นใหญ่น้อยเป็นบริวารโดยรอบอีกด้วย
ส่วนปราสาทที่รายล้อมมีการจารึกชื่อพระพุทธรูปเอาไว้ที่ขอบประตู คาดว่าปราสาทเหล่านี้ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือเทวรูปที่มาจากเจ้านายหรือเชื้อพระวงศ์จากเมืองต่างๆ หรือตระกูลใหญ่ เท่ากับว่า กลุ่มปราสาทบายนนี้เป็นเคล็ดแสดงสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ของราชอาณาจักรขอม ที่มีเแคว้นใหญ่น้อยเป็นบริวารโดยรอบอีกด้วย
๕) พระชัยพุทธมหานาถ
พระนามนี้มีความหมายว่า พระผู้เป็นใหญ่ชนะเหนือทุกสิ่ง
จารึกปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้าง พระชัยพุทธมหานาถขึ้น ๒๓ องค์ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ทรงประดิษฐานไว้ที่ปราสาทพระขรรค์
และกระจายไปยังเมืองสำคัญต่างๆ ทั่วอาณาจักร หลายเมืองอยู่ในเขตแดนไทยนี่เอง ได้แก่
ลโว้ทยปุระ สุวรรณปุระ ศัมพูกปัฏกนะ ชัยราชบุรี ศรีชยสิงหบุรี ศรีชยวัชรบุรี
ซึ่งหมายถึง เมืองลพบุรี สุพรรณบุรี โกสินารายณ์ ราชบุรี เมืองสิงห์ และ เพชรบุรี
ที่สำคัญคือ ทรงสร้างพระชัยพุทธมหานาถ องค์ใหญ่สูง ๓.๕ เมตร ประดิษฐานไว้ที่ห้องชั้นในสุดและสูงสุดของปราสาทบายนหลังกลาง
เพื่อเป็นพระประธานของอาณาจักร
การที่ทรงสร้างพระชัยพุทธมหานาถนี้
นอกจากจะเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าและสถาปนาขึ้นเพื่อปกป้องเมืองแล้ว
การส่งไปประดิษฐานยังเมืองต่างๆ ยังแสดงถึงพระราชอำนาจของพระองค์เหนือเมืองนั้นๆ อีกด้วย
![]() |
พระชัยพุทธมหานาถ หลังจากบูรณะเสร็จใหม่ๆ ภาพจาก www.researchgate.net/ |
ภาพด้านบนเป็นพระชัยพุทธมหานาถองค์ประธานของอาณาจักร ที่ประดิษฐาน ณ ปราสาทบายน เทียบให้เห็นความสูงกับบุคคล ในภาพจะเห็นเป็นรอยต่อมากมาย เกิดจากการบูรณะซากที่ถูกทุบทำลายและนำไปทิ้งไว้ในท่อระบายน้ำใต้ปราสาทนานหลายร้อยปี หลังจากบูรณะแล้วได้นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดพรัมไปลอเวง (Vat Prampei Loveng) ที่อยู่ใกล้กับฐานพลับพลารูป “กากบาท” (+) ที่รู้จักกันในชื่อของ “ระเบียงช้าง” (Terrace of Elephants)
๓) พระสุคตวิมาย
จารึกปราสาทพระขรรค์ ระบุว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงให้ส่งพระสุคตวิมายะ ไปยังเมืองพิมาย
วรณัย พงศาชยากร วิเคราะห์ไว้ว่า พระสุคตวิมายะ มีรูปลักษณ์เป็นพระพุทธรูปนาคปรก แบบพระเศียรไม่มีอุษณีษะ ซึ่งก็คือรูปแทนพระเจ้าชัยวรมันในภาคของพระพุทธเจ้า หรือพระโพธิสัตว์ แต่ทว่า พระองค์ยังมิอาจเอื้อมเทียบเท่าโดยการทำอุษณีษะ อันเป็นมหาปุริสลักษณะมีเฉพาะพระพุทธองค์เท่านั้น จึงทำเป็นเพียงพระพุทธรูปแบบมียอดแหลมตรงเศียรเพียงเล็กน้อย
วรณัย พงศาชยากร วิเคราะห์ไว้ว่า พระสุคตวิมายะ มีรูปลักษณ์เป็นพระพุทธรูปนาคปรก แบบพระเศียรไม่มีอุษณีษะ ซึ่งก็คือรูปแทนพระเจ้าชัยวรมันในภาคของพระพุทธเจ้า หรือพระโพธิสัตว์ แต่ทว่า พระองค์ยังมิอาจเอื้อมเทียบเท่าโดยการทำอุษณีษะ อันเป็นมหาปุริสลักษณะมีเฉพาะพระพุทธองค์เท่านั้น จึงทำเป็นเพียงพระพุทธรูปแบบมียอดแหลมตรงเศียรเพียงเล็กน้อย
ผู้เขียนค่อนข้างคล้อยตามข้อวิเคราะห์นี้ เพราะการปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกที่พุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาแก่กล้าจะพึงหวัง และสอดคล้องกับพระนามของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ หลังสวรรคต พระนามว่า
มหาบรมเสาคต แปลว่า ผู้เป็นไปตามพระสุคต
๔) พระรูปเหมือนพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
พระองค์น่าจะเป็นกษัตริย์เขมรพระองค์แรกที่ทรงปั้นพระรูปเหมือน
พบอยู่หลายที่ พระรูปแสดงอิริยาบถทรงพนมมือ หลุบตาลงต่ำเหมือนหลับตาพริ้ม
และพระโอษฐ์แย้มน้อยๆ เช่นเดียวกับพระพุทธรูปทั้งหลายที่ทรงสร้าง อันเป็นลักษณะเฉพาะของประติมากรรมในยุคของพระองค์
ทำให้นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ตั้งชื่อประติกรรมแบบนี้ว่า ศิลปะแบบบายน
ที่ปราสาทหินพิมาย มีพระรูปเหมือนหนึ่งองค์ประดิษฐานอยู่ที่ปรางค์พรหมทัต
ประทับนั่งพนมหัตถ์ หันพระพักตร์ไปทางครรภคฤหะที่ประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถ เสมือนว่าพระองค์ทรงสักการะพระพุทธเจ้า
![]() |
ภาพจาก posttoday.com |
รูปปั้นพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พบอยู่หลายที่ ทั้งหมดแต่เดิมนั้นพระกรหายไป ทำให้ไม่ทราบว่าทรงมีอิริยาบถอย่างไร ล่าสุด Apsara Authority ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านโบราณคดีของกัมพูชาและนักโบราณคดีฝรั่งเศส ได้ค้นพบแขนและส่วนมือในท่าพนมมือไหว้ของประติมากรรมปริศนา จึงนำมาต่อเข้ากับรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ปรากฏว่าต่อเข้ากันได้ แม้จะมีชิ้นส่วนแตกหักไปบ้างก็ตาม
๕) ธรรมศาลาและอโรคยศาลา
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มิได้ทรงมุ่งขยายอาณาจักรด้วยการสงครามเท่านั้น แต่ทรงให้ความสำคัญกับการทำนุบำรุงบ้านเมืองให้รุ่งเรือง โดยการบำรุงพระศาสนา ส่งเสริมการค้า และดูแลการสาธารณสุขในสมัยของพระองค์ทรงสร้างสิ่งต่างๆ มากมาย แต่ที่ได้รับการกล่าวขานถึงอย่างมากนโยบายหนึ่ง คือ การสร้าง "วหนิคฤหะ" ที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ ธรรมศาลา หรือบ้านมีไฟ ซึ่งเป็นที่พักคนเดินทาง และทุกที่ก็จะมี "อโรคยศาลา" หรือสถานพยาบาล อยู่ควบคู่กัน ทรงสร้างไว้ถึง ๑๒๑ แห่ง ตามถนนหนทางจากทุกทิศที่มุ่งสู่เมืองพระนคร ส่วนเส้นทางจากเมืองพระนครมาถึงวิมายปุระ หรือเมืองพิมาย อันเป็นขอบเขตของราชวงศ์มหิธรปุระของพระองค์ มีอยู่ ๑๗ แห่ง
ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงสันนิษฐานว่า บ้านมีไฟคงสร้างด้วยไม้ แต่มีตัวปราสาทซึ่งเป็นศาสนสถานประจำสร้างด้วยศิลาแลง ภายในประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร บ้างก็มีพระพุทธรูปปางสมาชิประดิษฐานอยู่ในซุ้มรอบๆ
ปัจจุบันยังมีบ้านทีไฟหลงเหลือให้เห็นอยู่ได้บางที่ เช่น กลุ่มปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทบ้านบุ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทห้วยแคน จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น
!! หลังพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สวรรคต
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๘ นี้ ไม่มีหลักฐานว่า พระองค์สืบสายมาทางใด แต่สิ่งที่พระองค์ทรงกระทำคือ ทำลายประติมากรรมและภาพสลักต่างๆ ในทางพุทธศาสนาที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างไว้
พระชัยพุทธมหานาถ พระประธานปางนาคปรกองค์ใหญ่
ในปราสาทบายน ถูกทำลายและนำไปทิ้งไว้ในท่อระบายน้ำใต้ปราสาท เสมือนเป็นการขจัดผู้ปกป้องอาณาจักรแห่งพระเจ้าชัยวรมันที่
๗ เพื่อทำให้ความศักดิ์สิทธิ์และความหมายของผู้ชนะเหนือทุกสิ่ง ต้องมลาสไป
รูปพระโพธิสัตว์ทั้งหลายถูกทำลายด้วยการขูดพระพักตร์บ้าง
เติมแต่งใหม่ให้กลายเป็นเทวรูปแบบฮินดูบ้าง
ทำการสลักภาพและเรื่องราวของเทพฮินดูไว้บนกำแพงปราสาทบายน ขูดลบภาพสลักเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในปราสาทต่างๆ
แล้วแกะสลักทับลงไปใหม่ให้เป็นเรื่องราวของฮินดูบ้าง ฤาษีบ้าง เรียกว่า
พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ทั้งอาณาจักรถูกทำลายลง
เหตุใดพระเจ้าชัยวรมันที่ ๘ จึงทรงทำเยี่ยงนั้น?
สาเหตุเพราะนับถือศาสนาต่างกัน
แค่นั้นหรือ?
จริงอยู่พระเจ้าชัยวรมันที่
๘ ทรงนับถือฮินดู ไศวนิกาย แต่ที่ผ่านมากษัตริย์เขมรแทบทุกพระองค์
นับถือพราหมณ์-ฮินดู
แต่ก็ยังให้การอุปถัมภ์และไม่เคยรังเกียจหรือทำลายพุทธศาสนาเลยแม้แต่น้อย ดังนั้น หากมองลึกๆ
แล้ว ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นเกมการเมือง ที่ต้องการล้มล้างพระราชอำนาจเดิมและลบทิ้งซึ่งหลักฐานความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าชัยวรมันที่
๗
แม้แต่พระนาม ก็ทรงใช้
“ขัยวรมัน” เช่นกัน เป็นการแสดงชัดว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๘
ต้องการยิ่งใหญ่เทียมเท่าหรือเหนือกว่า แต่ด้วยวิธีที่มืดบอด
นอกจากพระองค์
จะไม่สามารถลบล้างพระเกียรติยศของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้แล้ว
ยังทำให้อาณาจักรเขมรนับแต่นั้นเสื่อมถอยลงอย่างมิอาจฟื้นคืนได้
ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่
๘ อาณาจักรเขมรเริ่มแตกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย ปลายรัชสมัยทรงสละราชสมบัติให้แก่พระราชบุตรเขย จากนั้นอาณาจักรเขมรก็ประสบกับความลุ่มๆ ดอนๆ โดยตลอด สงครามกับจามจางคลาย แต่กลับมามีสงครามกับกองทัพไทยแทน จนถึงสมัยเจ้าสามพระยา พ.ศ. ๑๙๗๔ ได้เข้ายึดเมืองพระนครสำเร็จ นับจากนั้นกษัตริย์เขมรก็ละทิ้งเมืองพระนคร ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเขมรจึงเหลือเพียงประวัติศาสตร์บนซากประหลักหักพังอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ไม่แน่ว่า หากเคล็ดวิชาที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงใช้สร้างอาณาจักร ยังคงอยู่ ทั้งราชวงศ์และอาณาจักรเขมรอาจจะยังคงภาคภูมิและเกรียงไกรอยู่จนถึงทุกวันนี้ ในขณะเดียวกันแม้อาณาจักรจะล่มสลาย แต่พระเกียรติภูมิของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในฐานะมหาราชและกษัตริย์ผู้ทรงธรรม ยังคงอยู่มานับพันปี และจะยังคงอยู่ต่อไปตราบสิ้นโลก สมกับที่พระองค์ทรงสร้างสระอโนดาต ไว้ในพระราชอาณาจักรของพระองค์
แนะนำหนังสืออ่านเพิ่มเติม : ประวัติเมืองพระนครของขอม ศ.มาดแลน จิโต เขียน, ศ.มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล แปล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น